[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by
ATOMYMAXSITE 2.5
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ยินดีต้อนรับคุณ
บุคคลทั่วไป
Select Language
English
Arabic
Bulgarian
Chinese (Simplified)
Chinese (Traditional)
Croatian
Czech
Danish
Dutch
Finnish
French
German
Greek
Hindi
Italian
Japanese
Korean
Norwegian
Polish
Portuguese
Romanian
Russian
Spanish
Swedish
Catalan
Filipino
Hebrew
Indonesian
Latvian
Lithuanian
Serbian
Slovak
Slovenian
Ukrainian
Vietnamese
Albanian
Estonian
Galician
Hungarian
Maltese
Thai
Turkish
ค้นหา
E-SERVICE
เมนูหลัก
หน้าแรก
ที่ตั้ง สพป. กระบี่
สรุปนโยบายสำคัญฯ ปั65
ภารกิจงานของ สพป.กระบี่
ทิศทางการพัฒนา สพป.กระบี่
AMSS++
แผนปฏิบัติการ 66 สพฐ.
แผนพัฒนากศ.5 ปี 66-70สพฐ
แสดงความคิดเห็น
โทรศัพท์บุคลากร สพป.กระบี่
โทรศัพท์ผู้บริหารสถานศึกษา
แผนพัฒนาการศึกษากระบี่
พรบ.ข้อมูลข่าวสาร ปี 2540
พรบ.อำนวยความสะดวก
รายงานผลการดำเนินงาน
รายงานติดตามรายไตรมาส
กระบวนการทำงาน
เจตจำนง สพป.กระบี่
ข้อมูลสารสนเทศ
การจัดการความรู้ (KM)
การเปิดเผยข้อมูล(OIT)
โครงสร้างหน่วยงาน
แผนพัฒนาการศึกษา 4ปี
แผนปฏิบัติการ
แผนฯโรงเรียนขนาดเล็ก
Allform
ผู้บริหาร สพป.กระบี่
SITEMAP
Administrator
เอกสารเผยแพร่ สพฐ.
ประกาศต่างๆ ของ สพป.กระบี่
กลุ่มงาน สพป.กระบี่
งานวิจัยการศึกษา
เรื่อง :
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
เจ้าของผลงาน :
นางสาวฉัตรวี หยงสตาร์
อาทิตย์ ที่ 3 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2565
เข้าชม : 1292 จำนวนการดาวน์โหลด : 580 ครั้ง
AXTUS
AXTUS Want To Rule The World
บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาความต้องการ ด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) จำนวน 41 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความเหมาะสมมากที่สุด (
= Χ4.62) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความเหมาะสมมากที่สุด (
= 4.54) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.68 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 4) แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ค่าความยาก (PE) ตั้งแต่ 0.42 ถึง 0.66 ค่าอำนาจจำแนก (D) ตั้งแต่ 0.55 ถึง 0.93 และ ค่าความเชื่อมั่น (rtt) เท่ากับ 0.84 5) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับพฤติกรรมชี้วัด คือ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 6) แบบวัด ความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy ) ตั้งแต่ 0.47 ถึง 0.68 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหาความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (
= 3.64) และความต้องการของนักเรียนให้มีการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.37Χ)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่มีชื่อเรียกว่า “IBSCR Model” ซึ่งมี 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) แนวคิดทฤษฎีและหลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนได้แก่ (1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Introduction : I) (2) ขั้นการระดมความคิด (Brain Stroming : B) (3) ขั้นการเลือกกลวิธีในการแก้ปัญหา (Strategy Finding : S) (4) ขั้นการร่วมมือกันปฏิบัติ (Collaborative Practices : C) (5) ขั้นการสะท้อนผลและตรวจคำตอบ (Reflect & Check : R) 4) ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจากการเรียนตามรูปแบบ และ รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคุณภาพความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพเหมาะสมมากที่สุด (
= 4.62)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (
=
4.55) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (
=
4.56)
ดาวน์โหลด
( บทคัดย่อ)
งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบรบือวิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
9/พ.ย./2565
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนบ้านศรีอรุณ จังหวัดมหาสารคามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3
28/ก.ย./2565
รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านหนองล่าม จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3
28/ก.ย./2565
รายงานการโครงการประเมินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอตง ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563
31/ก.ค./2565
รายงานการโครงการประเมินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอตง ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563
31/ก.ค./2565
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ถนนกระบี่ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000 โทรศัพท์ 0-7561-1182 โทรสาร 0-7562-2101 E-mail : krabiedu@krabiedu.go.th
@2010-2011 under
GNU General Public License
Edit&Applied by
Chudsagorn phikulthong
Power by :
ATOMYMAXSITE 2.5