[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
E-SERVICE
เมนูหลัก
เอกสารเผยแพร่ สพฐ.
ประกาศต่างๆ ของ สพป.กระบี่
กลุ่มงาน สพป.กระบี่

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

เจ้าของผลงาน : นางสาวฉัตรวี หยงสตาร์
อาทิตย์ ที่ 3 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2565
เข้าชม : 1334    จำนวนการดาวน์โหลด : 590 ครั้ง
AXTUS
AXTUS Want To Rule The World

บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
       การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 41 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความเหมาะสมมากที่สุด (= 4.50) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.94 3) แบบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทาง คณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าความยาก (PE) ตั้งแต่ 0.53 ถึง 0.60 ค่าอำนาจจำแนก (D) ตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.71 และค่าความเชื่อมั่น (rtt) เท่ากับ 0.80 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.48 ถึง 0.88 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples)
       ผลการวิจัย พบว่า
       1. การจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.39/80.65 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
       2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ มีค่าเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์คณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต ที่ระดับ .01
       3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต ที่ระดับ .01
       4. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ โดยภาพรวมเห็นด้วยอย่างยิ่ง (= 4.55)

ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบรบือวิทยาคาร  จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 9/พ.ย./2565
      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนบ้านศรีอรุณ จังหวัดมหาสารคามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 28/ก.ย./2565
      รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านหนองล่าม จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 28/ก.ย./2565
      รายงานการโครงการประเมินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอตง ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563 31/ก.ค./2565
      รายงานการโครงการประเมินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอตง ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563 31/ก.ค./2565